ทุกๆปัญหามีทางออกเสมอ – หาทางออกที่ดีที่สุด ปรึกษาทนายอลิสา

        -1. ล่าสุดระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงิน เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2566 ได้มีการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพว่า “เป็นผู้ไม่มีรายได้หรือรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพตามที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติตามที่กฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุกำหนด”

        -2. ซึ่งระเบียบนี้ได้มีการประกาศเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2566 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2566

         -3. การจ่ายเบี้ยผู้สูงอายุแบบใหม่ จ่ายแบบขั้นบันได้

– ผู้สูงอายุ อายุ 60-69 ปี จะได้รับ 600 บาท

– ผู้สูงอายุ อายุ 70-79 ปี จะได้รับ 700 บาท

– ผู้สูงอายุ อายุ 80-89 ปี จะได้รับ 800 บาท

– ผู้สูงอายุ อายุ 90 ปีขึ้นไป จะได้รับ 1,000 บาท

       -4. หลักเกณฑ์ผู้สูงอายุเดิม คือ

1. ต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย

2. มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

3. มีอายุอายุ 60 ปีขึ้นไป ซึ่งได้ยืนยันสิทธิขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

4. ไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใจจากหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ ผู้รับเงินบำนาญ เบี้ยหวัด บำนาญพิเศษ หรือเงินอื่นใดในลักษณะเดียวกัน แต่ไม่รวมถึงผู้พิการหรือผู้ป่วยเอดส์ หรือผู้ได้รับสวัสดิการอื่นตามมติ ครม.

         -5 เบี้ยผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ใหม่เพียงข้อที่ 4 เท่านั้น ส่วนสามข้อเดิม ยังเหมือนเดิมค่ะ

.

       ในความเห็นของทนายนะคะ เราคนไทยจ่ายภาษีเท่ากันทุกคน แต่สวัสดิการขั้นพื้นฐานที่คนไทยควรจะได้รับ กลับต้องมีการเพิ่มหลักเกณฑ์พิสูจน์ความจน ทั้งๆที่เป็นสิทธิของคนไทย ที่เมื่ออายุถึงเกณฑ์ควรจะได้รับสวัสดิการเท่าเทียมกัน และทนายคิดว่า ประเทศไทยควรจะเป็นรัฐสวัสดิการที่ดูแลประชาชนอย่างเท่าเทียมกันทั่วหน้า การเพิ่มหลักเกณฑ์พิสูจน์ความจนนี้ ใครจะเป็นคนพิสูจน์ และพิสูจน์อย่างไร เอาอะไรเป็นมาตรฐานว่า ใครมีรายได้ หรือรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ

#ทนายความเชียงใหม่ #ทนายเชียงใหม่ #ทนายความจังหวัดเชียงใหม่ #สํานักงานกฎหมายเชียงใหม่ #สํานักงานทนายความเชียงใหม่ #ChiangMaiLawyer #LawyerChiangMai #ExpatLawyerChiangMai #LegalConsultantChiangMai #LitigationChiangMai #ทนายเชียงใหม่ปรึกษาฟรี #ทนายความเชียงใหม่ปรึกษาฟรี #ปรึกษากฏหมายเชียงใหม่ #ที่ปรึกษากฏหมายเชียงใหม่ #ที่ปรึกษากฏหมายจังหวัดเชียงใหม่ #ปรึกษาทนายเชียงใหม่ #ปรึกษาทนายเชียงใหม่ฟรี #ปรึกษาคดีเชียงใหม่ #ปรึกษาคดีความเชียงใหม่ #ปรึกษาคดีความจังหวัดเชียงใหม่ #ทนายที่ดินเชียงใหม่ #ทนายอาสาศาลเชียงใหม่ #ทนายครอบครัวเชียงใหม่ #ทนายหย่าเชียงใหม่ #ทนายเช็คเชียงใหม่ #ทนายกู้ยืมเงินเชียงใหม่

ติดตามข่าวสารผ่านช่องทาง Facebook ได้ที่ สำนักงานทนายความเชียงใหม่ James Alisa

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *